ปัญหาที่พบบ่อยในการจัดงานคอนเสิร์ตกลางแจ้ง หรืองานกิจกรรมที่ใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ก็คือ เสียงสะท้อนเป็นจำนวนมากที่เกิดจากปริมาตรของพื้นที่ จากจุดต่างๆ นี้ก่อให้เกิดเสียง Delay ที่สร้างปัญหาให้กับผู้จัดงานและผู้ฟังเสมอ แต่ปัญหานี้จะหมดไปเพราะวันนี้เราจะอธิบายกันว่า Delay คืออะไร และแนะนำวิธีแก้ไขเสียง Delay เพื่อเป็นแนวทางให้กับท่าน จะมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย

Delay เกิดจากอะไร ?

Delay นั่นคือความล่าช้าของเสียงที่เราได้ยิน สมมุติง่ายๆ ว่าถ้าเรามีลำโพงอยู่ 2 ตัววางไว้ในตำแหน่งที่ห่างกัน ตัวแรกอยู่ใกล้เรา ส่วนตัวที่ 2 อยู่ไกลเรา ถ้าเราเปิดลำโพง 2 ตัวพร้อมกันเสียงจากลำโพงตัวที่อยู่ใกล้เราจะเดินทางมาถึงเราเร็วกว่าเสียงจากลำโพงตัวที่ 2 เพราะระยะห่าง เมื่อเสียงเดินทางมาไม่พร้อมกันก็จะทำให้เกิดปัญหาเสียงสะท้อน ซึ่งปัญหานี้มักพบได้ในกิจกรรมที่ใช้พื้นที่ขนาดกว้าง เช่น งาน Expo ต่างๆ, งานคอนเสิร์ต เป็นต้น

3 วิธีแก้ไขเสียง Delay

 

  • การใช้ลำโพง Line Arrays

เป็นลำโพงที่วางตัวในลักษณะเรียงตัวเป็นแนวยาว รูปแบบการกระจายคลื่นเสียงออกมาแบบทรงกระบอก ทิศทางเสียงจะออกมาเป็นแนวนอน สามารถวางกับพื้นแล้วปรับตั้งองศาของลำโพงให้เอียงขึ้นมาหาผู้ฟังได้ และส่วนมากจะมีเครื่องปรับแต่งสัญญาณเสียงระบบดิจิตอล (Digital Signal Processor/DSP) พร้อมให้ใช้งาน เช่น เครื่องปรับแต่งความถี่สัญญาณเสียง (Equalizer), เครื่องควมคุมระดับสัญญาณเสียง (Crossover), เครื่องปรับแยกความถี่สัญญาณเสียง (Compressor), เครื่องหน่วงเวลาสัญญาณเสียง (Delay) และ Feedback Suppressor เป็นต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้งบค่อนข้างสูง แต่เป็นวิธีที่แก้ปัญหาได้ “ตรงจุด” มากที่สุด

 

  • การเพิ่มลำโพงตามจุดที่เกิด Delay 

สำหรับใครที่ไม่มีลำโพง Line Arrays เบื้องต้นให้นำลำโพงขนาดกลางมาช่วยเสริมตามจุดที่เกิด Delay เพื่อช่วยเพิ่มความดังเเละความชัดเจนของลำโพงหลักให้ครอบคลุมพื้นที่ไกลๆ ได้ แต่วางลำโพงเพียงอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องใช้เครื่องหน่วงสัญญาณเสียง (Delay) ช่วยด้วย เพื่อให้ผู้ฟังได้ยินเสียงจากลำโพงที่ทำ Delay หรือจากลำโพงหลัก ได้ยินเสียงพร้อมกัน โดยใช้หลักคำนวณจากระยะห่างของลำโพงหลักและลำโพงที่ทำ Delay (หน่วยเป็นเมตร) หารด้วยความเร็วเสียงในอากาศ หรือ 331+ (0.6t) โดย t คืออุณหภูมิ (หน่วยองศาเซลเซียส) เช่น ลำโพงตั้งห่างกัน 50 เมตร โดยขณะนั้นมีอุณหภูมิอยู่ 20 องศาเซลเซียส 

วิธีคิดค่าความหน่วง 50 ÷ (331+ (0.6 x 20) = 0.1457

ผลลัพธ์การตั้งค่าความหน่วงคือ 0.1457 วินาที หรือ  145.7 ms  นั่นเอง

 

  • การใช้เครื่องหน่วงเวลาสัญญาณเสียง (Delay)

อุปกรณ์ที่มีฟังก์ชั่น Delay นี้จะช่วยหน่วงระยะห่างของลำโพงให้เสียงเดินทางมาพร้อมๆกัน หน่วยวัดเป็นมิลลิวินาที (ms) ซึ่งเครื่องนี้ยังมีประโยชน์มากกว่าการหน่วงเวลาของลำโพง เช่น

  1. ลดปัญหาการทำงานในสถานที่ที่มีเสียงสะท้อนย้อนกลับ เช่น ห้องประชุมขนาดใหญ่, ลานกลางแจ้งหรือในร่ม เป็นต้น 
  2. ช่วยให้ปรับหรือมิกซ์เสียงได้ง่ายขึ้น เพราะเสียงที่เดินทางออกจากลำโพง LOW, MID, HI (ต่ำ กลาง สูง) จะมาพร้อมกัน 
  3. โอกาสที่เกิดจะเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback) ในระบบน้อยลง 
  4. ช่วยให้เกิดมิติเสียงที่ดี มีความสมดุลในขณะเปิดดังหรือเปิดเบาๆ

แม้ว่าการเพิ่มลำโพงและการใช้เครื่องหน่วงเวลาจะเป็นวิธีที่ใช้งบไม่สูงเท่าการใช้ลำโพง Line Arrays แต่ค่อนข้างใช้เวลาในการติดตั้ง และต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญจัดการและควบคุมจึงจะเห็นผลมากที่สุด

และนี่คือ 3 วิธีแก้ไขเสียง Delay ที่เราได้รวบรวมมาเป็นแนวทางนำไปปรับใช้ในสถานที่ของคุณให้ดียิ่งขึ้น หากคุณต้องการ แก้ปัญหาได้ตรงจุดที่สุด และยังตอบโจทย์กับการใช้งานในปัจจุบัน เราแนะนำว่าการใช้งานลำโพง Line Arrays เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด

Reference :

สนใจออกแบบและติดตั้งระบบเสียง ระบบภาพ ระบบเสียงประกาศ ระบบเสียงห้องประชุม ระบบห้องประชุม หรือ Smart Classroom ห้องเรียน
ติดต่อได้ที่ บริษัท แวน อินเตอร์เทรด จำกัด
เบอร์โทร: 02-728-0150
Email: van@vaninter.com

เคยสงสัยกันมั้ยว่าองค์กรของคุณมีการใช้งานระบบเทคโนโลยีกี่ระบบ แล้วแต่ละระบบที่ใช้สามารถเชื่อมต่อส่งข้อมูลหากันได้หรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่ในองค์กรระดับชั้นนำจะมีระบบใช้งานมากกว่า 30 ระบบและปัญหาที่พบคือระบบเหล่านี้ไม่สามารถเชื่อมต่อ หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เพื่อให้ระบบต่างๆในองค์กรมีสามารถเชื่อมต่อเข้าด้วยกันและมีประสิทธิภาพในการใช้งาน เราจึงต้องมี System Integrator เข้ามาช่วย ว่าแต่ว่า System Integrator คือใครและงานของเขาต้องทำอะไรบ้าง มาดูกันเลย     

                     

System Integrator คือใคร

System Integrator คือ ผู้รวบรวมระบบเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีความซับซ้อนให้เข้ากับระบบเทคโนโลยีเดิม หรือติดตั้งร่วมกับระบบเทคโนโลยีใหม่ขององค์กร ให้องค์กรมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นและช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ตามที่องค์กรต้องการ เรียกได้ว่าเป็นผู้รับเหมาทางด้านระบบเทคโนโลยีต่างๆ เช่น System Integrator ด้านระบบภาพและเสียง, System Integrator ด้านระบบเครือข่าย, System Integrator ด้านระบบข้อมูลและ System Integrator ด้านระบบสารสนเทศ เป็นต้น

 

System Integrator ทำอะไรบ้าง

โดยส่วนมากจะอ้างอิงตามความต้องการขององค์กรซึ่งจะแตกต่างกันตามแต่ละองค์กร แต่จะมีหน้าที่หลักดังนี้ 

การเก็บข้อมูลจากองค์กร

การเก็บรวบรวมความต้องการขององค์กรก่อนเริ่มการพัฒนาระบบ เราต้องทำความเข้าใจองค์กรก่อนว่ามีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบให้เป็นแบบไหน ต้องการใช้เทคโนโลยีแบบใด มีค่าใช้จ่ายการดำเนินการเท่าไหร่ ยิ่งเราสามารถรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้มากเท่าไหร่ ก็จะทำให้เข้าใจวัตถุประสงค์การพัฒนาระบบขององค์กรสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

การออกแบบระบบ

การนำข้อมูลที่สอบถามและตรวจสอบกับทางองค์กรข้างต้นมาเป็นแบบแผนในการสร้างระบบ เพื่อให้ระบบทั้งหมดมีการทำงานที่สอดคล้องกันและตอบโจทย์วัตถุประสงค์ขององค์กร

การตรวจสอบระบบ

ตรวจสอบความถูกต้องร่วมกันระหว่างองค์กรและผู้จัดทำเพื่อยืนยันความถูกต้องของการดีไซน์และคอนเซปต์ของระบบ 

การสร้างระบบ

ทำระบบการทำงานแบบจำลองและระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกันขึ้นมา เพื่อทดสอบการทำงานก่อนการนำไปใช้งานจริงในภายหลัง กรณีองค์กรขนาดใหญ่ที่อาจมีระบบเหมือนกันกับระบบที่เราจำลองขึ้นมาก็สามารถนำมาปรับใช้กับองค์กรได้ทันทีเช่นกัน

และนี่คือเรื่องราวน่ารู้ของ System Integrator ว่าเขาคือใครและทำงานอะไรบ้างที่เราได้รวบรวมให้คุณได้เข้าใจพวกเขามากยิ่งขึ้น

________________________________________________________________________

หากคุณมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ System Integrator หรือกำลังมองหา ระบบเสียง ระบบภาพ ระบบเสียงประกาศ ระบบเสียงห้องประชุม ระบบห้องประชุม หรือ Smart Classroom ห้องเรียน ติดต่อได้ที่ บริษัท แวน อินเตอร์เทรด จำกัด

เบอร์โทร: 02-728-0150

Email: van@vaninter.com

Website: www.vaninter.com

Facebook: www.facebook.com/VisualAudioNetwork