บ่อยครั้งที่การใช้งานระบบเสียงแบบ Sound Reinforcement นั้นเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจ ต้องมีความรู้ประมาณนึง ไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดความเสียหายให้กับระบบเสียงของเราได้ โดย 1 ในปัญหาหลัก ๆ ที่ผู้ใช้งานพบเจอคือ ดอกลำโพงขาดขณะใช้งาน ซึ่งเมื่อเกิดความเสียหายแล้วย่อมทำให้สูญเสียงบประมาณไม่ใช่น้อยไปกับการซ่อมแซม ก่อนที่ดอกลำโพงของผู้ใช้งานจะได้รับความเสียหายไปมากกว่านี้ ผู้ใช้งานต้องทราบก่อนว่าปัญหา “ดอกลำโพงขาด” มีสาเหตุจากอะไร ซึ่งทางเราได้รวบรวมสาเหตุของปัญหาดอกลำโพงขาดในนี้เรียบร้อยแล้ว ​​จะมีสาเหตุอะไรบ้างมาดูกันเลย

ความร้อนสะสม

เมื่อมีความร้อนสะสมมากจนเกินไป อาจส่งผลให้ดอกลำโพงไหม้จนเกิดความเสียหายได้ ซึ่งอาการแบบนี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เครื่องขยายเสียงมีกำลังขับสูงกว่าวัตต์ RMS ของดอกลำโพง ทำให้เกิดการสะสมของความร้อน ตัวอย่างเช่น ดอกลำโพงมีกำลังวัตต์ RMS ที่ 600 วัตต์ แต่เครื่องขยายเสียงมีกำลังขับเกินวัตต์ RMS ของดอกลำโพงที่ 1200 วัตต์ RMS เป็นต้น

Over Excursion

Over Excursion คือความเสียหายที่เกิดจากการฉีกขาดในดอกลำโพง เพราะเครื่องขยายเสียงมีกำลังขับวัตต์ Peak สูงกว่าวัตต์ Peak ของดอกลำโพงเกินจะรับได้ เช่น ดอกลำโพงมีกำลังวัตต์ Peak ที่ 900 วัตต์ แต่เครื่องขยายมีกำลังขับเต็มกำลังที่ 1,700 วัตต์ เป็นต้น

การปรับแต่ง Equalizer มากเกินไป

การปรับแต่ง Equalizer บางย่านความถี่ที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะของลำโพง เช่น หากเป็นลำโพงที่มีเสียงย่านความถี่ต่ำอย่าง ลำโพง Subwoofer ถ้าโดนปรับแต่งย่านเสียงให้มีความถี่เสียงสูงมาก ๆ อาจส่งผลให้ดอกลำโพงขาดได้ ดังนั้นก่อนปรับแต่ง Equalizer ควรดูอย่างละเอียดถี่ถ้วน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญครับ
ทั้ง 3 กรณีที่ทำให้ลำโพงขาด หรือเกิดความเสียหาย เป็นเพียงกรณีเบื้องต้นเท่านั้น แต่มียังกรณีอื่น ๆ ที่ทำให้ลำโพงขาด หรือเกิดความเสียหายได้ เช่น สภาพแวดล้อมของพื้นที่การใช้งาน หรืออายุการใช้งานของลำโพง ทุกท่านสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการแก้ปัญหา ทั้งการเลือกซื้ออุปกรณ์ เช่น เครื่องขยายเสียง ลำโพง การตั้งค่าระบบที่ใช้อยู่ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยลดต้นทุนในการซ่อมบำรุงได้อีกด้วย สุดท้ายนี้ก็อย่าลืมติดตามเราในทุกช่องทางด้านล่างนี้ เพื่อรับบทความใหม่ ๆ กันนะครับ
สนใจออกแบบและติดตั้งระบบเสียง ระบบเสียงประกาศ ระบบเสียงห้องประชุม ระบบห้องประชุม หรือ Smart Classroom ห้องเรียน ติดต่อได้ที่ บริษัท แวน อินเตอร์เทรด จำกัด
เบอร์โทร: 02-728-0150
Email: van@vaninter.com
Facebook: https:// VAN Intertrade Co., Ltd.