วันนี้เราจะมาพูดถึงอุปกรณ์ระบบเสียงและภาพที่ใช้ในห้องสัมมนา หรือห้องประชุม ว่าส่วนใหญ่ใช้อะไรบ้าง

อุปกรณ์ระบบเสียงใช้ในห้องประชุม

ระบบภาพและเสียงในห้องประชุม

1. ไมโครโฟน

ในห้องประชุมไมโครโฟนเป็นสิ่งสำคัญในการที่เราจะประชุม หรือบรรยายและนำเสนองาน ไมโครโฟนก็มีอยู่หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการใช้งาน เช่น หากเราจะบรรยายงานแบบต้องลุกหรือเดินเพื่อที่จะเข้าถึงผู้ฟัง เราก็ควรที่จะใช้ไมโครโฟนแบบไมโครโฟนไร้สาย Wireless Microphone เพื่อที่เวลาเราเดินจะได้สะดวกไม่มีสายมาเกะกะ

ไมโครโฟน

2. ลำโพง

แน่นอนอยู่แล้วว่าพูดถึงเสียงเราก็ต้องมีลำโพง ลำโพงเราต้องเลือกลำโพงให้เหมาะสมกับการใช้งาน แต่เราก็ต้องดูขนาดพื้นที่เพื่อให้เสียงนั้นครอบคลุมได้ยินกันอย่างทั่วถึง ซึ่งลำโพงมีทั้งแบบ Active และ Passive (ลิ้งค์ข้อมูล ลำโพงแบบ Active และ Passive)

ลำโพง

3. เครื่องผสมสัญญาณเสียง Mixer

Mixer นั้นมีหลายช่องสัญญาณเสียงขึ้นอยู่กับ Inputหรือแหล่งกำเนิดเสียงของเรา เช่น หากเราใช้ไมโครโฟน 8 ตัว ในห้องประชุม เราควรเลือกใช้ Mixer ที่มีช่องสัญญาณเสียง 8 ช่องหรือ 16 ช่องเพื่อรองรับการใช้ในอนาคตที่อาจจะมีเพิ่มเข้ามา

มิกเซอร์ เครื่องผสมสัญญาณเสียง (Mixer)

อุปกรณ์ระบบภาพใช้ในห้องประชุม

1. เครื่องฉายภาพหรือโปรเจคเตอร์ (Projector)

ในการเลือกโปรเจคเตอร์นั้นเราต้องดูปัจจัยรอบข้างว่าโปรเจคเตอร์รุ่นไหนที่เหมาะกับห้องประชุมเรา เช่น ถ้าห้องประชุมมีแสงสว่างค่อนข้างสูง  จึงจำเป็นต้องใช้โปรเจคเตอร์ที่มีความสว่าง (brightness) สูงๆ แต่ถ้าห้องที่สามารถควบคุมแสงได้ก็อาจจะใช้โปรเจคเตอร์ที่มีความสว่างไม่ต้องสูงมาก โดยส่วนใหญ่โปรเจคเตอร์ที่ใช้ในหอประชุมขนาดเล็กก็จะเลือกความสว่างตั้งแต่ 4000 Lumens ขึ้นไป และเลือกใช้โปรเจคเตอร์นั้นก็ต้องสอดคล้องกับอัตราส่วนภาพด้วย


โปรเจคเตอร์ (Projector)

2. จอรับภาพ

จอรับภาพนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือแบบแขวนมือดึง Wall Screen และแบบจอมอเตอร์ไฟฟ้า Motorized Screen ซึ่งมีอัตราส่วนรับภาพแบบทั้ง 4:3, 16:9 และ 16:10


จอรับภาพ

ทั้งนี้ก็ต้องคำนึงถึงขนาดห้องและการใช้งานว่า จะต้องใช้จำนวนเท่าไรและต้องมีอุปกรณ์อะไรเพิ่มเติมไหม? เช่น ส่วนใหญ่ห้องขนาด 5×10 เมตรก็จะมีการใช้อุปกรณ์ระบบเสียงและภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประชุมงาน และถ้าห้องนั้นใช้สำหรับประชุมเพื่อสรุปงานหรือสางแผนงานต้องการให้มีการแสดงความคิดเห็นกันก็ควรใช้ไมค์ประชุม จำนวนก็ขึ้นอยู่กับผู้ร่วมประชุมนั้นๆ หากเรารู้ว่าห้องนั้นจะใช้งานแบบไหนเราก็จะสามารถเลือกอุปกรณ์ได้เหมาะสมกับการใช้งานได้อย่างเหมาะสม


สนใจออกแบบและติดตั้งระบบเสียง ระบบเสียงประกาศ ระบบเสียงห้องประชุม หรือ Smart Classroom ติดต่อได้ที่ บริษัท แวน อินเตอร์เทรด จำกัด

เบอร์โทร: 02-728-0150

Email: van@vaninter.com

Website: www.vaninter.com

Facebook: https:// www.facebook.com/VisualAudioNetwork

Line: @vanintertrade / http://line.me/ti/p/%40vanintertrade

ครั้งก่อนเราพูดถึงแอมป์ไปแล้วถึง 3 Class ด้วยกัน เป็น Class A, ClassB และ ClassAB วันนี้เราจะมาพูดอีก 4 Class ที่เหลือกัน พร้อมทั้งตารางเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย ของแต่ละคลาสกันเลย


Amplifier ClassD

คลาสD (Class D) พาวเวอร์แอมป์ชนิดนี้จะแตกต่างกับ CALSS A ,CLASS B หรือ AB โดยสิ้นเชิง ซึ่ง CLASS ข้างต้นภาคขยายสัญญาณขาออก จะทำหน้าที่ขยายหรือให้กำลังตามความแรงของสัญญาณขาเข้า ในขณะที่ CLASS D จะแปลงสัญญาณขาเข้าให้กลายเป็นคลื่นแบบความกว้างของแถบคลื่นที่เรียกกันว่า Pulse Width Modulation (PWM) ในลักษณะรูปคลื่นที่เป็นแบบ square wave ขณะที่สัญญาณเสียงทั่วไปจะเป็นแบบ sine wave สัญญาณคลื่นที่ถูกแปลงนี้จะถูกส่งไปสร้างลักษณะการทำงานของภาคขยายเสียงขาออก ให้ทำงานและหยุดทำงานตามความกว้างของคลื่นที่ส่งเข้าไปกระตุ้นภาคขาออก คล้ายการทำงานของสัญญาณในแบบดิจิตอล คือ กำหนดให้เป็นการเปิดหรือปิดวงจร

       จึงทำให้มีผู้เข้าใจ ผิดว่า CLASS D คือ ดิจิตอล แต่แท้จริงแล้ว อาจจะคล้ายกัน ในแง่ของลักษณะในเชิงการทำงานแบบเปิดและปิด แต่ไม่ใช่ในแง่ของการทำงานเพื่อขยายสัญญาณเสียง ข้อจำกัดของ CLASS D คือ มักจะจำกัดการทำงานที่ความถี่ค่อนข้างต่ำ เพราะการขยายสัญญาณในภาคขาออกต้องทำการกรองคลื่นที่เป็น PWM ที่เป็น square wave ออกเพื่อให้กลับมาเป็นสัญญาณถี่ในแบบ sine wave โดยมาก เครื่องขยายเสียง CLASS D ทั่วไปจะกรองความถี่ที่ 500 Hz ฉะนั้นความถี่ที่ใช้งานได้คือ จะสูงไม่เกิน 250 Hzหรือมากกว่าเล็กน้อย หากความถี่สูงกว่านี้เสียงจะพร่าเบลอ หรือเสียงสะดุด หากจะให้ขยายเสียงได้ตลอดผ่านความถี่ มักมีปัญหาเรื่องการกวนของความถี่ ในระดับคลื่นวิทยุ (Radio Frequency Interference – RFI)คลาสส์อื่นๆที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก และด้วยลักษณะการทำงานของมันแล้วจึงทำให้พาวเวอร์แอมป์ชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้ขับลำโพงซับวูเฟอร์ เน้นพลังเบส กระแทกแรงๆ แต่ไม่นิยมที่นำไปขับลำโพงกลาง-แหลม


Amplifier ClassT

คลาสT (Class T) พาวเวอร์แอมป์ชนิดนี้ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อลดจุดด้อยของ CLASS D ที่ไม่มีเสถียรภาพในความถี่สูงโดยใช้ความสามารถในเชิงดิจิตอลเข้ามาช่วย โดยเพิ่มความถี่ของการทำงานแบบ switching ทำให้สามารถ switching ที่ความถี่สูงขึ้นถึงในระดับความถี่ประมาณ 85 KHz จากนั้นจึงใช้วงจรกรองความถี่ แบบ Low passที่ประมาณ 40 KHz ทำให้ได้เครื่องขยายเสียงแบบ CLASS D ที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจนถึงความถี่ ที่สูงกว่า 20 KHz  ทำให้วงจรทำงานได้เต็มช่องสัญญาณเสียง (20-20,000 hz) และทำให้ Class T สามารถขับได้ทั้งลำโพงซับวูเฟอร์ และ ลำโพงกลาง-แหลม


Amplifier ClassG

คลาสG (Class G) พาวเวอร์แอมป์ชนิดนี้เป็นพาวเวอร์แอมป์ที่ใช้ไฟเลี้ยงตั้งแต่ 2 ชุด ขึ้นไป และจะทำงานโดยภาคขยายเสียงจะปรับไปใช้ไฟเลี้ยงที่สูงขึ้นหากสัญญาณขาเข้ามี ความแรงมากขึ้น จึงทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และลดการสูญเสียแรงดันของทรานซิสเตอร์ แต่จะมีปัญหาในช่วงการเปลี่ยนจากภาคจ่ายไฟ ที่จะปรับใช้ในแต่ละความแรงของสัญญาณ และด้วยการออกแบบวงจรที่มีความซับซ้อน จึงทำให้ในปัจจุบันพาวเวอร์แอมป์ Class นี้อาจจะไม่เป็นที่นิยมมากนัก


Amplifier ClassH

คลาสH (Class H) พาวเวอร์แอมป์ชนิดนี้ จะมีความคล้ายกับ CLASS G ยกเว้นจุด สัญญาณไม่เกิดการคลิพ ที่ไม่มีการเปลี่ยนความถี่ของสัญญาณขาเข้า ในส่วนของวงจรจะเหมือนกับพาวเวอร์แอมป์ CLASS D แต่การจัดวงจรภาคขาออกจะเหมือนกับวงจรแบบ CLASS AB จึงทำให้พาวเวอร์แอมป์ชนิดนี้สามารถนำไปขับได้ทั้งลำโพงเสียงกลาง-เสียงแหลม และ ขับลำโพงซับวูเฟอร์ (ลำโพงขับเสียงต่ำ)ก็ได้

จากที่กล่าวมา จะเห็นว่า พาวเวอร์แอมป์ นั้นแต่ล่ะคลาส จะมีกระบวนการทำงานในวงจรที่ต่างกัน บางคลาส อาจเหมาะกับลำโพงเสียงกลาง-เสียงแหลม บางคลาสอาจเหมาะกับลำโพงซับวูฟเฟอร์ ซึ่งการเลือกใช้งาน พาวเวอร์แอมป์ นั้น เราจึงควรเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับการทำงานในแต่ล่ะคลาส ซึ่งจะทำให้ เสียงที่ออกมานั้นมีคุณภาพสูง และดี ตามที่เราต้องการ

ตารางเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของแต่ล่ะรุ่น

คลาสแอมป์ เหมาะสำหรับลำโพงเสียงแหลมและเสียงกลาง เหมาะสำหรับลำโพงเสียงต่ำ (ซับวูฟเฟอร์) ข้อดีข้อเสีย
Class A/xเน้นในเรื่องของคุณภาพเสียงค่าความเพี้ยนตํ่า และเสียงรบกวนน้อย มีความร้อนที่ค่อนข้างสูง และกินกระแสไฟมาก
Class Bxxตัดปัญหาเรื่องเครื่องไม่มี
ความร้อนออกไป
เสียงไม่มีคุณภาพ และมีค่าความเพี้ยนสูง
Class AB//มีคุณภาพเสียงที่ค่อนข้างดี ให้กำลังขับที่เยอะ และเกิดความร้อนน้อย คุณภาพเสียงยังสู้คลาส A ไม่ได้
Class Dx/ให้กำลังขับที่สูงกว่าคลาส AB เกิดความร้อนต่ำ มีข้อจำกัดในเรื่องของการตอบสนองความถี่เสียง
Class T//วงจรทำงานได้เต็มช่องสัญญาณเสียง (20-20,000 hz) ให้ประสิทธิภาพสูงกว่า Class D มีการกินกระแสค่อนข้างมาก
Class G//มีการดึงข้อดีด้านประสิทธิภาพของคลาส D และคุณภาพของคลาส AB มีวงจรที่สลับซับซ้อนและราคาแพง
Class H//มีความคล้ายคลึงกับคลาส G ยกเว้นจุด สัญญาณไม่เกิดการคลิพ จึงทำให้ไม่มีการเปลี่ยนความถี่ของสัญญาณขาเข้า มีวงจรที่สลับซับซ้อนและราคาแพง

สนใจออกแบบและติดตั้งระบบเสียง ระบบเสียงประกาศ ระบบเสียงห้องประชุม หรือ Smart Classroom ติดต่อได้ที่ บริษัท แวน อินเตอร์เทรด จำกัด

เบอร์โทร: 02-728-0150

Email: van@vaninter.com

Website: www.vaninter.com

Facebook: https:// www.facebook.com/VisualAudioNetwork

สำหรับผู้บริโภค และนักเล่นเครื่องเสียง ที่กำลังมองหาระบบเสียงที่ดี เพื่อให้ได้เสียงที่มีคุณภาพสูงนั้น เพาเวอร์แอมป์ (POWER AMP)ถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ และเป็นตัวแปลหลักๆ ในการที่เราจะได้เสียงที่มีคุณภาพสูง 

เพาเวอร์แอมป์ (POWER AMP) นั้นจะมีอยู่ด้วยกันหลายคลาส (CLASS) โดยในแต่ละคลาสนั้นจะแบ่งตามลักษณะการทำงานของเทคโนโลยีการออกแบบเพาเวอร์แอมป์ (POWER AMP)และการปรับปรุงพัฒนาระบบการทำงานของวงจรภาคต่างๆภายในให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะใช้ชื่อเรียกตามคลาสเพาเวอร์แอมป์ (CLASS POWER AMP) โดยคลาส (CLASS) ของเพาเวอร์แอมป์(POWER AMP)  ในอดีตมีอยู่ 3 CLASS คือ CLASS A , CLASS B และ CLASS AB แต่ปัจจุบันมี CLASS D , CLASS T , CLASS G , CLASS H และอื่นๆอีก โดยเรามาทำความรู้จักในแต่ละคลาส  และแต่ละคลาสควรใช้งานแบบไหนจึงจะเหมาะสมที่สุด

Amplifier ClassA

คลาสA (Class A)  พาวเวอร์แอมป์ชนิดนี้เน้นในเรื่องของคุณภาพเสียง ค่าความเพี้ยนตํ่า และเสียงรบกวนน้อย แต่มีข้อเสียในเรื่องของความร้อนที่ค่อนข้างจะสูงเพราะมีการป้อนกระแสไฟให้ทรานซิสเตอร์อยู่ตลอดเวลา ถึงแม้จะไม่มีสัญญาณอินพุทเข้ามาก็ตาม และกำลังขับที่ได้นั้นก็ค่อนข้างจะน้อย แอมป์ประเภทนี้จึงเหมาะกับนักฟังและผู้บริโภคที่เน้นรายละเอียดของเสียงกลาง-แหลม ไม่เน้นเสียงดังตูมตาม


Amplifier ClassB

คลาสB (Class B) พาวเวอร์แอมป์ชนิดนี้จะมีการจัดแบ่งการทำงานของทรานซิสเตอร์ในภาคขยายขาออก แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ด้านหนึ่งทำงานในช่วง + อีกด้านหนึ่งทำงานในช่วง – คือแบ่งกันทำงาน จึงทำให้มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง แต่ก็จะมีข้อด้อย คือ ช่วงที่สลับการทำงาน  ระหว่าง ช่วง + และ – การทำงานจะไม่ราบเรียบ อาจเรียกได้ว่ามีความพร่าเพี้ยน เรียกกันว่า cross over distortion คือ ความเพี้ยนที่เกิดจากช่วงสลับการทำงานของทรานซิสเตอร์  จึงทำให้เสียงที่ได้มานั้นไม่มีคุณภาพ  และในปัจจุบันพาวเวอร์แอมป์ Class นี้อาจจะไม่มีผลิตแล้ว


Amplifier ClassAB

คลาสAB (ClassAB)  คือ การรวมเอาระหว่างข้อดีและข้อด้อย ของทั้ง CLASS A และ CLASS B เข้าด้วยกัน นั่นคือ ในช่วงเวลาที่มีสัญญาณขาเข้าเบา ๆ วงจรภาคขาออกจะทำงาน ในแบบ CLASS A แต่เมื่อสัญญาณขาเข้าแรงขึ้น วงจรภาคขาออกจะทำงานในแบบ CLASS B จึงทำให้เครื่องขยายเสียงในลักษณะนี้ มีความเพี้ยนต่ำ และมีประสิทธิภาพสูง  ปัจจุบัน พาวเวอร์แอมป์ Class AB จึงเป็น พาวเวอร์แอมป์ ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน และสามารถนำไปขับได้ทั้งลำโพงเสียงกลาง-เสียงแหลม และ ขับลำโพงซับวูเฟอร์ (ลำโพงขับเสียงต่ำ)ก็ได้


วันนี้เราพูดถึง Amplifier กันไปถึง 3 class ว่าแต่ละ class เหมาะกับการใช้งานแบบไหน ในบทความต่อไปเราจะมาพูดถึง Amplifier อีก 4 class ที่เหลือและตารางเปรียนเทียบในแต่ละคลาส

สนใจออกแบบและติดตั้งระบบเสียง ระบบเสียงประกาศ ระบบเสียงห้องประชุม หรือ Smart Classroom ติดต่อได้ที่ บริษัท แวน อินเตอร์เทรด จำกัด

เบอร์โทร: 02-728-0150

Email: van@vaninter.com

Website: www.vaninter.com

Facebook: https:// www.facebook.com/VisualAudioNetwork

4 ห้องประชุม กับเทคนิคการเลือกใช้อุปกรณ์เสียงและภาพ เป็น 4 ห้องประชุมที่ส่วนใหญ่พบเห็น อุปกรณ์เสียงและภาพในห้องประชุมนั้น สิ่งสำคัญ เพราะการประชุมคือการที่เรามาระดมความคิด มานำเสนอกัน ถ้าเราไม่มีอุปกรณ์เสียงและภาพ การนำเสนอหรือการประชุมก็อาจจะไม่ทั่วถึง และอาจทำให้ไม่มีประสิทธิภาพ

1. ห้องประชุม Conference Room

ห้องประชุมแบบนี้เป็นห้องประชุมที่พบเห็นกันได้ทั่วไป เน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการประชุม ถ้าเป็นการประชุมแบบเป็นความลับ เช่นห้องประชุมผู้บริหาร อาจจะต้องเป็นไมโครโฟนชุดประชุมที่ปลอดภัย เพื่อไม่ให้มีการดักฟังการประชุม และต้องใช้อุปกรณ์เสียงและภาพที่สามารถควบคุมทุกอย่างได้จากผู้เข้าร่วมประชุมเอง พร้อมมีอุปกรณ์ที่รองรับการประชุมทางไกลได้

2. ห้องประชุมแบบ Classroom

ห้องประชุมแบบนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นการอบรม สัมมนา จะมีจอสำหรับรับภาพจากโปรเจคเตอร์ สำหรับนำเสนอ หรือจะใช้จอ Interactive เพื่อเขียนข้อความลงไปในจอระหว่างการอบรม และใช้ไมโครโฟนแบบไร้สายเพื่อให้ผู้นำเสนอและผู้เข้าร่วมอบรมมีการโต้ตอบกัน ซักถามกันได้

3. ห้องประชุมแบบโรงหนัง  (Theater)

ห้องประชุมแบบนี้ ส่วนใหญ่เป็นห้องอบรมที่มีผู้ฟังบรรยายมากๆ จึง ควรใช้ระบบเสียงที่ติดลำโพงแบบไลน์อาเรย์ (Line Array) เพราะลำโพงแบบนี้สามารถกระจายเสียงได้ทั่วถึงทั้งห้องประชุม เพื่อที่จะให้ผู้เข้าร่วมได้รับข้อมูลได้อย่างทั่วถึง เหมาะสำหรับการจัดงานอบรมสัมมนา จัดงานนำเสนอสินค้า แสดงละครเวที และห้องเรียนสำหรับบรรยาย ต้องใช้จอที่มีขนาดใหญ่ ระบบเสียงที่ติดตั้งมากับลำโพงด้านหน้าซ้าย-ขวาที่ใช้เทคโนโลยีไลน์อาเรย์ ก็สามารถช่วยทำให้การกระจายเสียงไปยังทุกตำแหน่งในพื้นที่ของห้อง ได้อย่างครอบคลุม ทำให้ผู้เข้าอบรมจำนวนมาก ได้รับข้อมูลทั้งภาพ และเสียงได้อย่างครบถ้วน

4. ห้องประชุมแบบ Huddle Room

ห้องประชุมแบบ Huddle Room เหมาะสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมเพียง 3 – 6 คน สามารถเพิ่มผู้เข้าร่วมประชุมได้มากขึ้นผ่านเทคโนโลยีการประชุมทางไกลเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่การประชุมหลายแห่ง อุปกรณ์ที่ติดตั้งภายในห้อง มีเพียงจอ LED TV หรือจอInteractive  ลำโพงขนาดเล็ก 1 – 2 ตัว ที่ และกล้อง Video Camera ทั่วไป หรือจะใช้ แบบที่สามารถหมุนซ้ายขวาได้ ซูมได้ (PTZ Camera) ก็ได้ และต้องมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรือแล็ปท็อปต่างๆได้


สนใจออกแบบและติดตั้งระบบเสียง ระบบเสียงประกาศ ระบบเสียงห้องประชุม หรือ Smart Classroom ติดต่อได้ที่ บริษัท แวน อินเตอร์เทรด จำกัด

เบอร์โทร: 02-728-0150

Email: van@vaninter.com

Website: www.vaninter.com

Facebook: http://www.facebook.com/VisualAudioNetwork/

ลำโพง Active และ Passive คืออะไร ลำโพงที่เราเห็นกันในตล […]