สำหรับผู้บริโภค และนักเล่นเครื่องเสียง ที่กำลังมองหาระบบเสียงที่ดี เพื่อให้ได้เสียงที่มีคุณภาพสูงนั้น เพาเวอร์แอมป์ (POWER AMP)ถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ และเป็นตัวแปลหลักๆ ในการที่เราจะได้เสียงที่มีคุณภาพสูง 

เพาเวอร์แอมป์ (POWER AMP) นั้นจะมีอยู่ด้วยกันหลายคลาส (CLASS) โดยในแต่ละคลาสนั้นจะแบ่งตามลักษณะการทำงานของเทคโนโลยีการออกแบบเพาเวอร์แอมป์ (POWER AMP)และการปรับปรุงพัฒนาระบบการทำงานของวงจรภาคต่างๆภายในให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะใช้ชื่อเรียกตามคลาสเพาเวอร์แอมป์ (CLASS POWER AMP) โดยคลาส (CLASS) ของเพาเวอร์แอมป์(POWER AMP)  ในอดีตมีอยู่ 3 CLASS คือ CLASS A , CLASS B และ CLASS AB แต่ปัจจุบันมี CLASS D , CLASS T , CLASS G , CLASS H และอื่นๆอีก โดยเรามาทำความรู้จักในแต่ละคลาส  และแต่ละคลาสควรใช้งานแบบไหนจึงจะเหมาะสมที่สุด

Amplifier ClassA

คลาสA (Class A)  พาวเวอร์แอมป์ชนิดนี้เน้นในเรื่องของคุณภาพเสียง ค่าความเพี้ยนตํ่า และเสียงรบกวนน้อย แต่มีข้อเสียในเรื่องของความร้อนที่ค่อนข้างจะสูงเพราะมีการป้อนกระแสไฟให้ทรานซิสเตอร์อยู่ตลอดเวลา ถึงแม้จะไม่มีสัญญาณอินพุทเข้ามาก็ตาม และกำลังขับที่ได้นั้นก็ค่อนข้างจะน้อย แอมป์ประเภทนี้จึงเหมาะกับนักฟังและผู้บริโภคที่เน้นรายละเอียดของเสียงกลาง-แหลม ไม่เน้นเสียงดังตูมตาม


Amplifier ClassB

คลาสB (Class B) พาวเวอร์แอมป์ชนิดนี้จะมีการจัดแบ่งการทำงานของทรานซิสเตอร์ในภาคขยายขาออก แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ด้านหนึ่งทำงานในช่วง + อีกด้านหนึ่งทำงานในช่วง – คือแบ่งกันทำงาน จึงทำให้มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง แต่ก็จะมีข้อด้อย คือ ช่วงที่สลับการทำงาน  ระหว่าง ช่วง + และ – การทำงานจะไม่ราบเรียบ อาจเรียกได้ว่ามีความพร่าเพี้ยน เรียกกันว่า cross over distortion คือ ความเพี้ยนที่เกิดจากช่วงสลับการทำงานของทรานซิสเตอร์  จึงทำให้เสียงที่ได้มานั้นไม่มีคุณภาพ  และในปัจจุบันพาวเวอร์แอมป์ Class นี้อาจจะไม่มีผลิตแล้ว


Amplifier ClassAB

คลาสAB (ClassAB)  คือ การรวมเอาระหว่างข้อดีและข้อด้อย ของทั้ง CLASS A และ CLASS B เข้าด้วยกัน นั่นคือ ในช่วงเวลาที่มีสัญญาณขาเข้าเบา ๆ วงจรภาคขาออกจะทำงาน ในแบบ CLASS A แต่เมื่อสัญญาณขาเข้าแรงขึ้น วงจรภาคขาออกจะทำงานในแบบ CLASS B จึงทำให้เครื่องขยายเสียงในลักษณะนี้ มีความเพี้ยนต่ำ และมีประสิทธิภาพสูง  ปัจจุบัน พาวเวอร์แอมป์ Class AB จึงเป็น พาวเวอร์แอมป์ ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน และสามารถนำไปขับได้ทั้งลำโพงเสียงกลาง-เสียงแหลม และ ขับลำโพงซับวูเฟอร์ (ลำโพงขับเสียงต่ำ)ก็ได้


วันนี้เราพูดถึง Amplifier กันไปถึง 3 class ว่าแต่ละ class เหมาะกับการใช้งานแบบไหน ในบทความต่อไปเราจะมาพูดถึง Amplifier อีก 4 class ที่เหลือและตารางเปรียนเทียบในแต่ละคลาส

สนใจออกแบบและติดตั้งระบบเสียง ระบบเสียงประกาศ ระบบเสียงห้องประชุม หรือ Smart Classroom ติดต่อได้ที่ บริษัท แวน อินเตอร์เทรด จำกัด

เบอร์โทร: 02-728-0150

Email: van@vaninter.com

Website: www.vaninter.com

Facebook: https:// www.facebook.com/VisualAudioNetwork

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *