ปัญหาที่พบบ่อยในการจัดงานคอนเสิร์ตกลางแจ้ง หรืองานกิจกรรมที่ใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ก็คือ เสียงสะท้อนเป็นจำนวนมากที่เกิดจากปริมาตรของพื้นที่ จากจุดต่างๆ นี้ก่อให้เกิดเสียง Delay ที่สร้างปัญหาให้กับผู้จัดงานและผู้ฟังเสมอ แต่ปัญหานี้จะหมดไปเพราะวันนี้เราจะอธิบายกันว่า Delay คืออะไร และแนะนำวิธีแก้ไขเสียง Delay เพื่อเป็นแนวทางให้กับท่าน จะมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย

Delay เกิดจากอะไร ?

Delay นั่นคือความล่าช้าของเสียงที่เราได้ยิน สมมุติง่ายๆ ว่าถ้าเรามีลำโพงอยู่ 2 ตัววางไว้ในตำแหน่งที่ห่างกัน ตัวแรกอยู่ใกล้เรา ส่วนตัวที่ 2 อยู่ไกลเรา ถ้าเราเปิดลำโพง 2 ตัวพร้อมกันเสียงจากลำโพงตัวที่อยู่ใกล้เราจะเดินทางมาถึงเราเร็วกว่าเสียงจากลำโพงตัวที่ 2 เพราะระยะห่าง เมื่อเสียงเดินทางมาไม่พร้อมกันก็จะทำให้เกิดปัญหาเสียงสะท้อน ซึ่งปัญหานี้มักพบได้ในกิจกรรมที่ใช้พื้นที่ขนาดกว้าง เช่น งาน Expo ต่างๆ, งานคอนเสิร์ต เป็นต้น

3 วิธีแก้ไขเสียง Delay

 

  • การใช้ลำโพง Line Arrays

เป็นลำโพงที่วางตัวในลักษณะเรียงตัวเป็นแนวยาว รูปแบบการกระจายคลื่นเสียงออกมาแบบทรงกระบอก ทิศทางเสียงจะออกมาเป็นแนวนอน สามารถวางกับพื้นแล้วปรับตั้งองศาของลำโพงให้เอียงขึ้นมาหาผู้ฟังได้ และส่วนมากจะมีเครื่องปรับแต่งสัญญาณเสียงระบบดิจิตอล (Digital Signal Processor/DSP) พร้อมให้ใช้งาน เช่น เครื่องปรับแต่งความถี่สัญญาณเสียง (Equalizer), เครื่องควมคุมระดับสัญญาณเสียง (Crossover), เครื่องปรับแยกความถี่สัญญาณเสียง (Compressor), เครื่องหน่วงเวลาสัญญาณเสียง (Delay) และ Feedback Suppressor เป็นต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้งบค่อนข้างสูง แต่เป็นวิธีที่แก้ปัญหาได้ “ตรงจุด” มากที่สุด

 

  • การเพิ่มลำโพงตามจุดที่เกิด Delay 

สำหรับใครที่ไม่มีลำโพง Line Arrays เบื้องต้นให้นำลำโพงขนาดกลางมาช่วยเสริมตามจุดที่เกิด Delay เพื่อช่วยเพิ่มความดังเเละความชัดเจนของลำโพงหลักให้ครอบคลุมพื้นที่ไกลๆ ได้ แต่วางลำโพงเพียงอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องใช้เครื่องหน่วงสัญญาณเสียง (Delay) ช่วยด้วย เพื่อให้ผู้ฟังได้ยินเสียงจากลำโพงที่ทำ Delay หรือจากลำโพงหลัก ได้ยินเสียงพร้อมกัน โดยใช้หลักคำนวณจากระยะห่างของลำโพงหลักและลำโพงที่ทำ Delay (หน่วยเป็นเมตร) หารด้วยความเร็วเสียงในอากาศ หรือ 331+ (0.6t) โดย t คืออุณหภูมิ (หน่วยองศาเซลเซียส) เช่น ลำโพงตั้งห่างกัน 50 เมตร โดยขณะนั้นมีอุณหภูมิอยู่ 20 องศาเซลเซียส 

วิธีคิดค่าความหน่วง 50 ÷ (331+ (0.6 x 20) = 0.1457

ผลลัพธ์การตั้งค่าความหน่วงคือ 0.1457 วินาที หรือ  145.7 ms  นั่นเอง

 

  • การใช้เครื่องหน่วงเวลาสัญญาณเสียง (Delay)

อุปกรณ์ที่มีฟังก์ชั่น Delay นี้จะช่วยหน่วงระยะห่างของลำโพงให้เสียงเดินทางมาพร้อมๆกัน หน่วยวัดเป็นมิลลิวินาที (ms) ซึ่งเครื่องนี้ยังมีประโยชน์มากกว่าการหน่วงเวลาของลำโพง เช่น

  1. ลดปัญหาการทำงานในสถานที่ที่มีเสียงสะท้อนย้อนกลับ เช่น ห้องประชุมขนาดใหญ่, ลานกลางแจ้งหรือในร่ม เป็นต้น 
  2. ช่วยให้ปรับหรือมิกซ์เสียงได้ง่ายขึ้น เพราะเสียงที่เดินทางออกจากลำโพง LOW, MID, HI (ต่ำ กลาง สูง) จะมาพร้อมกัน 
  3. โอกาสที่เกิดจะเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback) ในระบบน้อยลง 
  4. ช่วยให้เกิดมิติเสียงที่ดี มีความสมดุลในขณะเปิดดังหรือเปิดเบาๆ

แม้ว่าการเพิ่มลำโพงและการใช้เครื่องหน่วงเวลาจะเป็นวิธีที่ใช้งบไม่สูงเท่าการใช้ลำโพง Line Arrays แต่ค่อนข้างใช้เวลาในการติดตั้ง และต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญจัดการและควบคุมจึงจะเห็นผลมากที่สุด

และนี่คือ 3 วิธีแก้ไขเสียง Delay ที่เราได้รวบรวมมาเป็นแนวทางนำไปปรับใช้ในสถานที่ของคุณให้ดียิ่งขึ้น หากคุณต้องการ แก้ปัญหาได้ตรงจุดที่สุด และยังตอบโจทย์กับการใช้งานในปัจจุบัน เราแนะนำว่าการใช้งานลำโพง Line Arrays เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด

Reference :

สนใจออกแบบและติดตั้งระบบเสียง ระบบภาพ ระบบเสียงประกาศ ระบบเสียงห้องประชุม ระบบห้องประชุม หรือ Smart Classroom ห้องเรียน
ติดต่อได้ที่ บริษัท แวน อินเตอร์เทรด จำกัด
เบอร์โทร: 02-728-0150
Email: van@vaninter.com

เคยสงสัยกันมั้ยว่าองค์กรของคุณมีการใช้งานระบบเทคโนโลยีกี่ระบบ แล้วแต่ละระบบที่ใช้สามารถเชื่อมต่อส่งข้อมูลหากันได้หรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่ในองค์กรระดับชั้นนำจะมีระบบใช้งานมากกว่า 30 ระบบและปัญหาที่พบคือระบบเหล่านี้ไม่สามารถเชื่อมต่อ หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เพื่อให้ระบบต่างๆในองค์กรมีสามารถเชื่อมต่อเข้าด้วยกันและมีประสิทธิภาพในการใช้งาน เราจึงต้องมี System Integrator เข้ามาช่วย ว่าแต่ว่า System Integrator คือใครและงานของเขาต้องทำอะไรบ้าง มาดูกันเลย     

                     

System Integrator คือใคร

System Integrator คือ ผู้รวบรวมระบบเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีความซับซ้อนให้เข้ากับระบบเทคโนโลยีเดิม หรือติดตั้งร่วมกับระบบเทคโนโลยีใหม่ขององค์กร ให้องค์กรมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นและช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ตามที่องค์กรต้องการ เรียกได้ว่าเป็นผู้รับเหมาทางด้านระบบเทคโนโลยีต่างๆ เช่น System Integrator ด้านระบบภาพและเสียง, System Integrator ด้านระบบเครือข่าย, System Integrator ด้านระบบข้อมูลและ System Integrator ด้านระบบสารสนเทศ เป็นต้น

 

System Integrator ทำอะไรบ้าง

โดยส่วนมากจะอ้างอิงตามความต้องการขององค์กรซึ่งจะแตกต่างกันตามแต่ละองค์กร แต่จะมีหน้าที่หลักดังนี้ 

การเก็บข้อมูลจากองค์กร

การเก็บรวบรวมความต้องการขององค์กรก่อนเริ่มการพัฒนาระบบ เราต้องทำความเข้าใจองค์กรก่อนว่ามีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบให้เป็นแบบไหน ต้องการใช้เทคโนโลยีแบบใด มีค่าใช้จ่ายการดำเนินการเท่าไหร่ ยิ่งเราสามารถรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้มากเท่าไหร่ ก็จะทำให้เข้าใจวัตถุประสงค์การพัฒนาระบบขององค์กรสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

การออกแบบระบบ

การนำข้อมูลที่สอบถามและตรวจสอบกับทางองค์กรข้างต้นมาเป็นแบบแผนในการสร้างระบบ เพื่อให้ระบบทั้งหมดมีการทำงานที่สอดคล้องกันและตอบโจทย์วัตถุประสงค์ขององค์กร

การตรวจสอบระบบ

ตรวจสอบความถูกต้องร่วมกันระหว่างองค์กรและผู้จัดทำเพื่อยืนยันความถูกต้องของการดีไซน์และคอนเซปต์ของระบบ 

การสร้างระบบ

ทำระบบการทำงานแบบจำลองและระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกันขึ้นมา เพื่อทดสอบการทำงานก่อนการนำไปใช้งานจริงในภายหลัง กรณีองค์กรขนาดใหญ่ที่อาจมีระบบเหมือนกันกับระบบที่เราจำลองขึ้นมาก็สามารถนำมาปรับใช้กับองค์กรได้ทันทีเช่นกัน

และนี่คือเรื่องราวน่ารู้ของ System Integrator ว่าเขาคือใครและทำงานอะไรบ้างที่เราได้รวบรวมให้คุณได้เข้าใจพวกเขามากยิ่งขึ้น

________________________________________________________________________

หากคุณมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ System Integrator หรือกำลังมองหา ระบบเสียง ระบบภาพ ระบบเสียงประกาศ ระบบเสียงห้องประชุม ระบบห้องประชุม หรือ Smart Classroom ห้องเรียน ติดต่อได้ที่ บริษัท แวน อินเตอร์เทรด จำกัด

เบอร์โทร: 02-728-0150

Email: van@vaninter.com

Website: www.vaninter.com

Facebook: www.facebook.com/VisualAudioNetwork

 

เมื่อก่อนนี้หากเราต้องการรับชมรับฟังข้อมูลข่าวสาร ความบันเทิงต่าง เราสามารถรับชมหรือรับฟังผ่านโทรทัศน์หรือวิทยุเท่านั้น เนืองจากเทคโนโลยียังไม่มีความทันสมัย แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนาให้ดีขึ้นจนเกิดการ Live Streaming ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆที่นิยมในขณะนี้ วันนี้เราจะมาอธิบายกันว่า Live Streaming คืออะไรและมีความสำคัญยังไงถึงตอบโจทย์กับคนสมัยนี้

Live Streaming คืออะไร ?

Live Streaming คือ การถ่ายทอดสดทั้งภาพและเสียงโดยใช้เครือข่ายระบบอินเตอร์เน็ตผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Facebook,Youtube และ Instgram เป็นต้น  ซึ่งการสตีมมิ่งสามารถรับชมได้แบบไมจำกัดสถานที่ ไม่จำกัดผู้รับชม สามารถชมย้อนหลังได้โดยวิดีโอที่รับชมจะถูกส่งผ่านอินเตอร์เน็ต มายังอุปกรณ์ที่ใช้รับชม ซึ่งการสตีมมิ่งจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้รองรับการทำงานนี้ เช่น คอมพิวเตอร์.สมาร์ทโฟน.แท็บเล็ตหรือสมาร์ททีวี ในปัจจุบันระบบถูกนำมาปรับใช้กับวงการออนไลน์ได้หลากหลาย เช่น วงการเกม E-sport , วงการภาพยนตร์ ,  อีเว้นท์และรายการ เป็นต้น

ความสำคัญของการ Live Streaming ทีไม่ควรมองข้าม

นอกจากการที่ทำให้เราเข้าถึงสื่อต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว Live Streaming ยังมีคุณประโยชน์ที่สามารถนำไปต่อยอดได้มากกว่าที่กล่าวมา ดังนี้

  • ใช้ประชาสัมพันธ์ข่าวสารหรือกิจกรรมและสร้างภาพลักษณ์ให้แก่องค์กร ให้บุคคลภายนอกเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
  • ระบบถูกนำไปใช้ทำกลยุทธ์ด้านการตลาดเพื่อสร้างเสริมประสิทธิภาพในการทำการตลาดของธุรกิจให้ดีมากขึ้น
  • สร้างรายได้ผ่านช่องออนไลน์ให้กับ Influencer และทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์

________________________________________________________________________

สนใจออกแบบและติดตั้งระบบเสียง ระบบภาพ ระบบเสียงประกาศ ระบบเสียงห้องประชุม ระบบห้องประชุม หรือ Smart Classroom ห้องเรียน ติดต่อได้ที่ บริษัท แวน อินเตอร์เทรด จำกัด
เบอร์โทร: 02-728-0150
Email: van@vaninter.com
Line: @vanintertrade / line.me/ti/p/%40vanintertrade

 

 

วันนี้เราจะมาพูดถึงอุปกรณ์ระบบเสียงและภาพที่ใช้ในห้องสัมมนา หรือห้องประชุม ว่าส่วนใหญ่ใช้อะไรบ้าง

อุปกรณ์ระบบเสียงใช้ในห้องประชุม

ระบบภาพและเสียงในห้องประชุม

1. ไมโครโฟน

ในห้องประชุมไมโครโฟนเป็นสิ่งสำคัญในการที่เราจะประชุม หรือบรรยายและนำเสนองาน ไมโครโฟนก็มีอยู่หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการใช้งาน เช่น หากเราจะบรรยายงานแบบต้องลุกหรือเดินเพื่อที่จะเข้าถึงผู้ฟัง เราก็ควรที่จะใช้ไมโครโฟนแบบไมโครโฟนไร้สาย Wireless Microphone เพื่อที่เวลาเราเดินจะได้สะดวกไม่มีสายมาเกะกะ

ไมโครโฟน

2. ลำโพง

แน่นอนอยู่แล้วว่าพูดถึงเสียงเราก็ต้องมีลำโพง ลำโพงเราต้องเลือกลำโพงให้เหมาะสมกับการใช้งาน แต่เราก็ต้องดูขนาดพื้นที่เพื่อให้เสียงนั้นครอบคลุมได้ยินกันอย่างทั่วถึง ซึ่งลำโพงมีทั้งแบบ Active และ Passive (ลิ้งค์ข้อมูล ลำโพงแบบ Active และ Passive)

ลำโพง

3. เครื่องผสมสัญญาณเสียง Mixer

Mixer นั้นมีหลายช่องสัญญาณเสียงขึ้นอยู่กับ Inputหรือแหล่งกำเนิดเสียงของเรา เช่น หากเราใช้ไมโครโฟน 8 ตัว ในห้องประชุม เราควรเลือกใช้ Mixer ที่มีช่องสัญญาณเสียง 8 ช่องหรือ 16 ช่องเพื่อรองรับการใช้ในอนาคตที่อาจจะมีเพิ่มเข้ามา

มิกเซอร์ เครื่องผสมสัญญาณเสียง (Mixer)

อุปกรณ์ระบบภาพใช้ในห้องประชุม

1. เครื่องฉายภาพหรือโปรเจคเตอร์ (Projector)

ในการเลือกโปรเจคเตอร์นั้นเราต้องดูปัจจัยรอบข้างว่าโปรเจคเตอร์รุ่นไหนที่เหมาะกับห้องประชุมเรา เช่น ถ้าห้องประชุมมีแสงสว่างค่อนข้างสูง  จึงจำเป็นต้องใช้โปรเจคเตอร์ที่มีความสว่าง (brightness) สูงๆ แต่ถ้าห้องที่สามารถควบคุมแสงได้ก็อาจจะใช้โปรเจคเตอร์ที่มีความสว่างไม่ต้องสูงมาก โดยส่วนใหญ่โปรเจคเตอร์ที่ใช้ในหอประชุมขนาดเล็กก็จะเลือกความสว่างตั้งแต่ 4000 Lumens ขึ้นไป และเลือกใช้โปรเจคเตอร์นั้นก็ต้องสอดคล้องกับอัตราส่วนภาพด้วย


โปรเจคเตอร์ (Projector)

2. จอรับภาพ

จอรับภาพนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือแบบแขวนมือดึง Wall Screen และแบบจอมอเตอร์ไฟฟ้า Motorized Screen ซึ่งมีอัตราส่วนรับภาพแบบทั้ง 4:3, 16:9 และ 16:10


จอรับภาพ

ทั้งนี้ก็ต้องคำนึงถึงขนาดห้องและการใช้งานว่า จะต้องใช้จำนวนเท่าไรและต้องมีอุปกรณ์อะไรเพิ่มเติมไหม? เช่น ส่วนใหญ่ห้องขนาด 5×10 เมตรก็จะมีการใช้อุปกรณ์ระบบเสียงและภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประชุมงาน และถ้าห้องนั้นใช้สำหรับประชุมเพื่อสรุปงานหรือสางแผนงานต้องการให้มีการแสดงความคิดเห็นกันก็ควรใช้ไมค์ประชุม จำนวนก็ขึ้นอยู่กับผู้ร่วมประชุมนั้นๆ หากเรารู้ว่าห้องนั้นจะใช้งานแบบไหนเราก็จะสามารถเลือกอุปกรณ์ได้เหมาะสมกับการใช้งานได้อย่างเหมาะสม


สนใจออกแบบและติดตั้งระบบเสียง ระบบเสียงประกาศ ระบบเสียงห้องประชุม หรือ Smart Classroom ติดต่อได้ที่ บริษัท แวน อินเตอร์เทรด จำกัด

เบอร์โทร: 02-728-0150

Email: van@vaninter.com

Website: www.vaninter.com

Facebook: https:// www.facebook.com/VisualAudioNetwork

Line: @vanintertrade / http://line.me/ti/p/%40vanintertrade

ครั้งก่อนเราพูดถึงแอมป์ไปแล้วถึง 3 Class ด้วยกัน เป็น Class A, ClassB และ ClassAB วันนี้เราจะมาพูดอีก 4 Class ที่เหลือกัน พร้อมทั้งตารางเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย ของแต่ละคลาสกันเลย


Amplifier ClassD

คลาสD (Class D) พาวเวอร์แอมป์ชนิดนี้จะแตกต่างกับ CALSS A ,CLASS B หรือ AB โดยสิ้นเชิง ซึ่ง CLASS ข้างต้นภาคขยายสัญญาณขาออก จะทำหน้าที่ขยายหรือให้กำลังตามความแรงของสัญญาณขาเข้า ในขณะที่ CLASS D จะแปลงสัญญาณขาเข้าให้กลายเป็นคลื่นแบบความกว้างของแถบคลื่นที่เรียกกันว่า Pulse Width Modulation (PWM) ในลักษณะรูปคลื่นที่เป็นแบบ square wave ขณะที่สัญญาณเสียงทั่วไปจะเป็นแบบ sine wave สัญญาณคลื่นที่ถูกแปลงนี้จะถูกส่งไปสร้างลักษณะการทำงานของภาคขยายเสียงขาออก ให้ทำงานและหยุดทำงานตามความกว้างของคลื่นที่ส่งเข้าไปกระตุ้นภาคขาออก คล้ายการทำงานของสัญญาณในแบบดิจิตอล คือ กำหนดให้เป็นการเปิดหรือปิดวงจร

       จึงทำให้มีผู้เข้าใจ ผิดว่า CLASS D คือ ดิจิตอล แต่แท้จริงแล้ว อาจจะคล้ายกัน ในแง่ของลักษณะในเชิงการทำงานแบบเปิดและปิด แต่ไม่ใช่ในแง่ของการทำงานเพื่อขยายสัญญาณเสียง ข้อจำกัดของ CLASS D คือ มักจะจำกัดการทำงานที่ความถี่ค่อนข้างต่ำ เพราะการขยายสัญญาณในภาคขาออกต้องทำการกรองคลื่นที่เป็น PWM ที่เป็น square wave ออกเพื่อให้กลับมาเป็นสัญญาณถี่ในแบบ sine wave โดยมาก เครื่องขยายเสียง CLASS D ทั่วไปจะกรองความถี่ที่ 500 Hz ฉะนั้นความถี่ที่ใช้งานได้คือ จะสูงไม่เกิน 250 Hzหรือมากกว่าเล็กน้อย หากความถี่สูงกว่านี้เสียงจะพร่าเบลอ หรือเสียงสะดุด หากจะให้ขยายเสียงได้ตลอดผ่านความถี่ มักมีปัญหาเรื่องการกวนของความถี่ ในระดับคลื่นวิทยุ (Radio Frequency Interference – RFI)คลาสส์อื่นๆที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก และด้วยลักษณะการทำงานของมันแล้วจึงทำให้พาวเวอร์แอมป์ชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้ขับลำโพงซับวูเฟอร์ เน้นพลังเบส กระแทกแรงๆ แต่ไม่นิยมที่นำไปขับลำโพงกลาง-แหลม


Amplifier ClassT

คลาสT (Class T) พาวเวอร์แอมป์ชนิดนี้ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อลดจุดด้อยของ CLASS D ที่ไม่มีเสถียรภาพในความถี่สูงโดยใช้ความสามารถในเชิงดิจิตอลเข้ามาช่วย โดยเพิ่มความถี่ของการทำงานแบบ switching ทำให้สามารถ switching ที่ความถี่สูงขึ้นถึงในระดับความถี่ประมาณ 85 KHz จากนั้นจึงใช้วงจรกรองความถี่ แบบ Low passที่ประมาณ 40 KHz ทำให้ได้เครื่องขยายเสียงแบบ CLASS D ที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจนถึงความถี่ ที่สูงกว่า 20 KHz  ทำให้วงจรทำงานได้เต็มช่องสัญญาณเสียง (20-20,000 hz) และทำให้ Class T สามารถขับได้ทั้งลำโพงซับวูเฟอร์ และ ลำโพงกลาง-แหลม


Amplifier ClassG

คลาสG (Class G) พาวเวอร์แอมป์ชนิดนี้เป็นพาวเวอร์แอมป์ที่ใช้ไฟเลี้ยงตั้งแต่ 2 ชุด ขึ้นไป และจะทำงานโดยภาคขยายเสียงจะปรับไปใช้ไฟเลี้ยงที่สูงขึ้นหากสัญญาณขาเข้ามี ความแรงมากขึ้น จึงทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และลดการสูญเสียแรงดันของทรานซิสเตอร์ แต่จะมีปัญหาในช่วงการเปลี่ยนจากภาคจ่ายไฟ ที่จะปรับใช้ในแต่ละความแรงของสัญญาณ และด้วยการออกแบบวงจรที่มีความซับซ้อน จึงทำให้ในปัจจุบันพาวเวอร์แอมป์ Class นี้อาจจะไม่เป็นที่นิยมมากนัก


Amplifier ClassH

คลาสH (Class H) พาวเวอร์แอมป์ชนิดนี้ จะมีความคล้ายกับ CLASS G ยกเว้นจุด สัญญาณไม่เกิดการคลิพ ที่ไม่มีการเปลี่ยนความถี่ของสัญญาณขาเข้า ในส่วนของวงจรจะเหมือนกับพาวเวอร์แอมป์ CLASS D แต่การจัดวงจรภาคขาออกจะเหมือนกับวงจรแบบ CLASS AB จึงทำให้พาวเวอร์แอมป์ชนิดนี้สามารถนำไปขับได้ทั้งลำโพงเสียงกลาง-เสียงแหลม และ ขับลำโพงซับวูเฟอร์ (ลำโพงขับเสียงต่ำ)ก็ได้

จากที่กล่าวมา จะเห็นว่า พาวเวอร์แอมป์ นั้นแต่ล่ะคลาส จะมีกระบวนการทำงานในวงจรที่ต่างกัน บางคลาส อาจเหมาะกับลำโพงเสียงกลาง-เสียงแหลม บางคลาสอาจเหมาะกับลำโพงซับวูฟเฟอร์ ซึ่งการเลือกใช้งาน พาวเวอร์แอมป์ นั้น เราจึงควรเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับการทำงานในแต่ล่ะคลาส ซึ่งจะทำให้ เสียงที่ออกมานั้นมีคุณภาพสูง และดี ตามที่เราต้องการ

ตารางเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของแต่ล่ะรุ่น

คลาสแอมป์ เหมาะสำหรับลำโพงเสียงแหลมและเสียงกลาง เหมาะสำหรับลำโพงเสียงต่ำ (ซับวูฟเฟอร์) ข้อดีข้อเสีย
Class A/xเน้นในเรื่องของคุณภาพเสียงค่าความเพี้ยนตํ่า และเสียงรบกวนน้อย มีความร้อนที่ค่อนข้างสูง และกินกระแสไฟมาก
Class Bxxตัดปัญหาเรื่องเครื่องไม่มี
ความร้อนออกไป
เสียงไม่มีคุณภาพ และมีค่าความเพี้ยนสูง
Class AB//มีคุณภาพเสียงที่ค่อนข้างดี ให้กำลังขับที่เยอะ และเกิดความร้อนน้อย คุณภาพเสียงยังสู้คลาส A ไม่ได้
Class Dx/ให้กำลังขับที่สูงกว่าคลาส AB เกิดความร้อนต่ำ มีข้อจำกัดในเรื่องของการตอบสนองความถี่เสียง
Class T//วงจรทำงานได้เต็มช่องสัญญาณเสียง (20-20,000 hz) ให้ประสิทธิภาพสูงกว่า Class D มีการกินกระแสค่อนข้างมาก
Class G//มีการดึงข้อดีด้านประสิทธิภาพของคลาส D และคุณภาพของคลาส AB มีวงจรที่สลับซับซ้อนและราคาแพง
Class H//มีความคล้ายคลึงกับคลาส G ยกเว้นจุด สัญญาณไม่เกิดการคลิพ จึงทำให้ไม่มีการเปลี่ยนความถี่ของสัญญาณขาเข้า มีวงจรที่สลับซับซ้อนและราคาแพง

สนใจออกแบบและติดตั้งระบบเสียง ระบบเสียงประกาศ ระบบเสียงห้องประชุม หรือ Smart Classroom ติดต่อได้ที่ บริษัท แวน อินเตอร์เทรด จำกัด

เบอร์โทร: 02-728-0150

Email: van@vaninter.com

Website: www.vaninter.com

Facebook: https:// www.facebook.com/VisualAudioNetwork